เรื่อง “กรณีศึกษา : การทุจริตและการละเมิดของเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทาง

การตรวจสอบภายใน”

 “วันที่ 23  กันยายน 2565”

ณ ศูนย์ประชุมและลานจอดรถ มหิดลสิทธาคาร

…………………………………………………………..

หลักการและเหตุผล

ศูนย์ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ดำเนินการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน โดยมีเครือข่ายผู้ตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยในการทำงานร่วมกัน และได้วางแผนการพัฒนาองค์กรและบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ ทั้งผู้ตรวจสอบภายในประจำมหาวิทยาลัย และผู้ตรวจสอบภายในประจำส่วนงาน โดยมีกิจกรรมทั้งเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถ ตลอดจนสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ตรวจสอบภายในทั้งหมดของมหาวิทยาลัย เพื่อให้ปฏิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 4 ของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีเป้าประสงค์ให้มหาวิทยาลัยมีความพร้อม ด้านทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมต่อการดําเนินงานทั้งในเชิง คุณภาพและปริมาณ 

ศูนย์ฯ จึงได้จัดโครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ตรวจสอบภายใน ครั้งที่ 6 เรื่อง “กรณีศึกษา : การทุจริตและการละเมิดของเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการตรวจสอบภายใน” เพื่อส่งเสริมการสร้างความเป็นเลิศด้านทรัพยากรบุคคลนักตรวจสอบภายใน และการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพิ่มแรงผลักดันในการปฏิบัติงาน นอกจากนั้น การพัฒนาความรู้ให้กับผู้ตรวจสอบภายในครั้งนี้ยังเป็นการดึง และสร้างเสริมความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และทักษะการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน เพื่อให้สามารถผลิตผลงานที่เป็นประโยชน์ให้กับมหาวิทยาลัยได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการสร้างความเป็นเลิศด้านทรัพยากรบุคคลนักตรวจสอบภายใน และการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

2. เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ตรวจสอบภายในมหาวิทยาลัย และผู้ตรวจสอบภายในประจำส่วนงาน

กิจกรรมของโครงการ

  1. รับฟังการบรรยายจาก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายของมหาวิทยาลัยมหิดล
  2. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ตรวจสอบภายใน

หัวข้อเรื่องของโครงการ

กรณีศึกษา : การทุจริตและการละเมิดของเจ้าหน้าที่ และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการตรวจสอบภายใน

ผู้เข้าร่วมโครงการ

          ผู้ตรวจสอบภายในประจำมหาวิทยาลัย ผู้ตรวจสอบภายในประจำส่วนงาน และผู้บริหารที่กำกับดูแลงานตรวจสอบภายใน ประมาณ 35 คน

เวลาและสถานที่ของโครงการ

          โครงการประกอบไปด้วยการอบรมเชิงสัมมนา ระยะเวลา ½ วัน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้       อีก ½ วัน  ในวันที่ 23 กันยายน 2565  ณ ศูนย์ประชุมและลานจอดรถ มหิดลสิทธาคาร

วิทยากร

          นายอวยชัย อิสรวิริยะสกุล หัวหน้างานวินัยและคดี และนายอาริยารักษ์ จันทะเขต นิติกร ผู้ชำนาญการพิเศษ กองกฎหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          ศูนย์ตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยมหิดล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผู้ตรวจสอบภายในมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการทุจริตและละเมิดที่อาจเกิดขึ้นภายในองค์กร
  2. ผู้ตรวจสอบภายในสามารถนำความรู้จากการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ไปใช้ในการตรวจสอบ และวางแผนการตรวจสอบให้เกิดผลงานที่เป็นประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย
  3. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อาจช่วยให้ระบบการตรวจสอบภายใน และระบบการควบคุมภายในของมหาวิทยาลัยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นจากการตรวจสอบอย่างมืออาชีพของผู้ตรวจสอบภายใน
  4. การประสานงาน และการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ตรวจสอบภายในประจำมหาวิทยาลัย และผู้ตรวจสอบภายในประจำส่วนงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพจากความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ

1. ผู้เข้าร่วมรับการอบรมมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมที่ประมาณการ

2. ผู้เข้าร่วมรับการอบรมมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับ “ดี” ขึ้นไป (ผลตามแบบประเมิน)